วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นิวรอน

ในหัวสมองของเรามีสารสื่อประสาทหรือนิวรอนอยู่นับล้านๆเซล แต่ละนิวรอนบรรจุไปด้วยข้อมูลต่างๆ ที่จะประกอบขึ้นเป็นจิตใจของเรา เราถ่ายทอดสิ่งที่บรรจุในนิวรอนเหล่านี้ออกมาสู่โลกภายนอกด้วย "ภาษา" ที่พวกเราใช้ในการสื่อสาร

หลักการง่ายๆ ของนิวรอนเหล่านี้ก็คือ ยิ่งเราใช้นิวรอนตัวใดบ่อยๆ นิวรอนตัวนั้นก็จะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งโตมากมันก็ยิ่งทำงานได้อย่างเร็วและมีอำนาจ แล้วถ้ามันโตมากเพียงพอมันก็อาจจะไปเกาะเกี่ยวโครงข่ายเข้ากับนิวรอนอื่นๆ ทำให้นิวรอนตัวนี้ส่งอิธิพลไปยังนิวรอนอื่นที่อยู่ข้างเคียงด้วย ในทางตรงกันข้าม นิวรอนที่ไม่ได้ใช้งานก็จะเสื่อมสลายไปเองตามธรรมชาติ บ่อยครั้งที่สมองของเราจะย่อยสลายนิวรอนที่ไม่จำเป็นออกไปบ้างเพื่อให้สมองของเรามีพื้นที่เพียงพอเหลือเฟือต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งนิวรอนที่ไม่ค่อยได้ใช้งานนี่แหละจะเป็นพวกแรกที่โดนย่อย

นิวรอนจะเจริญเติบโตได้อย่างไร?

ก็เมื่อเราใช้มันโดยผ่านทางความคิด คำพูด รวมไปถึงการกระทำ

นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมเราจึงต้องหมั่นคิด พูด และทำในสิ่งที่สร้างสรรค์ สิ่งที่เราต้องการให้มันมีความเจริญก้าวหน้า

หัวใจสำคัญคือเราต้องฉลาดที่จะเพาะเลี้ยงนิวรอนบางตัวให้โต และทำให้นิวรอนไร้ประโยชน์บางตัวหมดความสำคัญลงไป

เพราะตัวตนของเราประกอบขึ้นด้วยนิวรอนครับ



อิธิพลของการรับรู้

มีการทดลองประหลาดๆอันหนึ่งเกิดขึ้น คือเขาแบ่งผู้รับการทดลองเป็นสองกลุ่ม ทั้งสองกลุ่มเหมือนกันคือให้เล่นเกมเรียงคำ (มีไพ่เป็นใบๆ มีคำต่างๆ ในไพ่แล้วให้เรียงคำเหล่านี้ให้เป็นประโยค) ความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ก็คือ ไพ่กลุ่มแรกมีคำไปในทำนองว่า "แก่ เชื่องช้า หย่อนยาน บลาๆๆ" ในขณะที่กลุ่มหลังเป็นคำในทำนองว่า "หนุ่มสาว รวดเร็ว แคล่วคล่อง ว่องใว บลาๆๆๆ"

เมื่อการเล่นเกมจบลง คนทั้งสองกลุ่มก็ถูกร้องขอให้กลับไป โดยให้เดินไปที่ลิฟท์ที่อยู่ใกลออกไป

ผลประกฏว่า ..... ค่าสถิตโดยรวมแล้วคนในกลุ่มแรกใช้เวลาในการเดินทางไปถึงลิฟท์กว่ากลุ่มที่สองอย่างเห็นได้ชัด ความเร็วในการเดินทางของคนกลุ่มแรกโดยรวมแล้วต่ำลงอย่างชัดเจนในขณะที่ความเร็วของคนกลุ่มหลังกลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนเช่นกัน

นี่คืออธิพลโดยตรงของการสื่อสารที่มีต่อพวกเราไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เมื่อเรารับรู้ทันใดนั้นนิวรอนมันจะเกิดขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลที่รับรู้นั้นเอาไว้ และยิ่งเราเรียนรู้มันซ้ำๆใช้งานมันซ้ำๆ นิวรอนตัวนั้นก็ยิ่งเะจริญเติบโตและส่งอธิพลต่อชีวิตของเราโดยอัตโนมัติ

เพราะตัวตนของเราทุกคนประกอบขึ้นด้วยนิวรอนนับล้านๆเซลครับ



8 Success

จากการวิจัยของนัก NLP พวกเขาพบว่าโดยสถิตแล้ว ผู้สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้มักจะมีองค์ประกอบชีวิตบางประการที่เหมือนกันหรือคล้ายกัน 8 ข้อดังต่อไปนี้

1. มีเป้าหมายในชีวิตชัดเจน

2. นึกถึงความทุกข์หรือความผิดพลาดในอดีตน้อยกว่าคนทั่วไป

3. เมื่อเผชิญเหตุการณ์ร้าย พวกเขาถนัดที่จะมองมันให้เป็นด้านบวกมากกว่าคนทั่วไป

4. หลายคนมีอุปนิสัยจดบันทึกเรื่องตัวเอง หรือเขียนเป้าหมายตัวเองออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

5. มักจะวางเป้าหมายความสำเร็จสอดคล้องกับอาชีพ การศึกษา ครอบครัว หรือท้องถิ่นที่อาศัย

6. แข่งขันกับตนเอง หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบกับผู้อื่นหรือสิ่งอื่น
7. มีแนวโน้มที่จะแสวงหาความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน

8. รู้คุณค่าของตนเอง






น้ำหนักของถ้อยคำ

หากคุณเรียก .... "ยาม" ว่า "Security Guard"

หากคุณเรียก .... "แอร์-สจ๊วรต" ว่า "Flight Attendance"

หากคุณเรียก .... "หมอโรคจิต" ว่า "จิตแพทย์"

หากคุณเรียก .... "หมอหมา" ว่า "สัตวแพทย์"

บางทีผู้ฟังจะมีความสุขมากขึ้น จะรู้สึกดีมากขึ้น และมีการตอบสนองที่ดีมากขึ้น

NLP เรียกความแตกต่างระหว่างถ้อยคำที่มีความมหายเหมือนกันเหล่านี้ว่าว่า "น้ำหนักของคำ"

คือความหมายถึงแม้ว่าจะเป็นอย่างเดียวกันก็ตาม แต่กลับมีน้ำหนักหรือให้การตอบสนองจากผู้รับที่แตกต่างกัน และระบบประสาทของคนเรานั้นพร้อมที่จะรับฟังรู้ที่ทำให้ตัวเองรู้สึกพึงพอใจอยู่แล้ว

ถ้ารู้จักเลือกใช้ให้ถูกจังหวะ คุณก็จะได้เปรียบในการสื่อสารของคุณ

เช่น ....ถ้าในร้านอาหารที่วุ่นวาย คุณพยามเรียกพนักงานเสริฟว่า "น้องๆๆ" อยู่หลายรอบก็ยังไม่ได้รับการตอบสนอง แต่พอคุณเรียกว่า "คนสวย" การตอบสนองก็อาจจะเกิดขึ้นได้โดยฉับพลันทันที

ทำไม? มันเกิดอะไรขึ้่น? .... คือมันอย่างนี้ครับ

ในระบบประสาทส่วนลึก ใครๆ ก็อยากเป็นคนสวย(คนหล่อ)ด้วยกันทั้งนั้น (โดยปรกติแล้ว) มนุษย์เรามีสัญชาติญาณระดับจิตใต้สำนึกในเรื่องนี้อยู่ทุกคน

ดังนั้นพอมีเสียงเรียกว่าคนสวย คำถามก็คือใครล่ะคือคนสวย? เพื่อการนี้จิตใต้สำนึกมันก็เลยตะโกนขึ้นว่า "ฉันเอง!!!" ถ้าเมินเฉยต่อคำนี้แล้วล่ะก็ .... นี่มันก็เป็นการใจร้ายต่อตัวเองไปซักหน่อย จิตใต้สำนึกมันไม่ยอมหรอก

 ... ดังนั้นเพื่อให้เกิดการยอมรับต่อคำนามนี้อย่างเต็มที่ยิ่ง ... การตอบสนองที่ดีจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามมาเพื่อยืนยันว่า "นั่นแหละฉันเอง"