วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Mirror


ระบบประสาทของคนเรามีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่ออารมณ์ในลักษณะของการเข้าร่วมได้ง่ายกว่าการรับรู้อื่นๆ

เช่นหากเรากำลังมองเห็นคนร้องให้ด้วยความเศร้าโศกเสียใจ ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเขาด้วยก็ตาม แต่ก็จะมีแนวโน้มสูงที่เราจะค่อยๆ รู้สึกหดหู่และเศร้าตามไปด้วย

หรือการที่กำลังมองเห็นคนกำลังทะเลาะด่าทอกันด้วยความรุนแรง ก็มีแนวโน้มที่เราจะรู้สึกตื่นเต้น หงุดหงิด เกิดอารมณ์รุนแรงเพิ่มสูงตามไปด้วยขึ้นแม้ว่าเราจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการทะเลาะเบาะแว้งนั้นก็ตาม

กลไกในธรรมชาตินี้เรียกว่ามิลเลอร์นิวรอน(ระบบประสาทกระจกเงา) มันเกิดขึ้นในสมองและระบบประสาทของทุกคน เพียงแต่จะมีปริมาณมากน้อยขนาดใหนก็เท่านั้น นั่นหมายความว่าการแสดงออกทางอารมณ์ของตัวเราเองย่อมมีส่วนชี้นำอารมณ์ของคนที่อยู่รอบตัวเราด้วยอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

คุณต้องการให้ผู้คนรอบตัวเป็นอย่างไร? มีอารมณ์อย่างไร?

คุณต้องเริ่มต้นจากตัวของคุณเองครับ!




วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Confidence

หลักสำคัญประการหนึ่งที่นักสะกดจิตบำบัด (Hypnotherapist) ทั่วโลกส่วนมากมักจะเห็นพ้องต้องกันก็คือ “การบำบัดไม่ควรที่จะทำเกินหนึ่งหัวข้อในเวลาเดียวกัน” เช่น หากต้องการจะบำบัดเรื่องเลิกบุหรี่ เลิกเหล้า ลดน้ำหนัก เพิ่มศักยภาพการกีฬา หรือแม้กระทั่งบำบัดอาการกลัวอย่างไม่สามารถควบคุมได้ (Phobia) ก็ควรที่จะทำทีละเรื่อง ๆ ไป ด้วยเหตุผลที่ว่าสมองของมนุษย์เรานั้นสามารถเรียนได้ดีที่สุดเพียงครั้งละหนึ่งเรื่องเท่านั้น

ลองนึกถึงว่ามันจะยุ่งยากขนาดไหนถ้าเราพยามเรียนวิชาเลขไปพร้อมๆ กับวิชาภาษาอังกฤษ?

แต่ทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนไม่มีสิ่งใดตายตัวหรอกครับ

ข้อยกเว้นในกรณีนี้ก็คือ ไม่ว่าจะทำเรื่องอะไรก็ตามที ผู้บำบัดสามารถเพิ่มเติมในส่วนของเรื่อง “ความมั่นใจ” (Self Confident) ในตัวเองให้กับผู้เข้ารับการบำบัดได้

ตลอดระยะเวลาการทำงานด้านสะกดจิตบำบัดมาร่วม 5 ปี ผู้บำบัดยังไม่เคยเจอใครที่ไม่ต้องการให้ผู้บำบัดเพิ่มเติมในส่วนของความมั่นใจในตนเองเลยสักคน ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะเป็นระดับ CEO ขององค์กรระดับสูง หรือแม้กระทั่งนักเรียนมัธยมก็ตามที คนทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องการความมั่นใจในตนเองเพิ่มมากขึ้นทั้งนั้น

ความมั่นใจเป็นดุจดั่งพรวิเศษที่จะช่วยให้คน ๆ นึงสามารถก้าวข้ามผ่านสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องเจอในแต่ละวันได้อย่างยอดเยี่ยม มีแต่คนที่มีความมั่นเท่านั้นจะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาได้อย่างไม่ย่อท้อ ในทางตรงกันข้ามการขาดซึ่งความมั่นใจก็เปรียบเสมือนกับกำแพงหนามสูงท่วมหัวที่ขวางเราไม่ให้สามารถก้าวข้ามไปสู่การประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนา เพื่อที่จะให้เราสามารถที่จะพูดได้อย่างมั่นใจ ยิ้มได้อย่างมั่นใจ ต่อรองได้อย่างมั่นใจ พรีเซนต์งานได้อย่างมั่นใจ แม้กระทั่งจีบสาวได้อย่างมั่นใจนั้น ความมั่นใจมันจำเป็นที่จะต้องออกมาจากภายในส่วนลึกของจิตใจเสียก่อน

แหล่งผลิตความมั่นใจนั้นก็คือการทำงานของสมองในส่วนที่เรียกว่าจิตใต้สำนึก (Subconscious)

จะทำอย่างไรเพื่อที่จะให้จิตใต้สำนึกเรียนรู้ที่จะผลิตการตอบสนองที่เรียกว่าความมั่นใจขึ้นมาได้ นั่นคือสิ่งที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองยอดอย่างเยี่ยมมากที่สุด

จงจดจำไว้ว่า “ความมั่นใจเป็นบันไดก้าวแรกสู่ความสำเร็จ” 

และการสะกดจิตบำบัดก็เป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมตัวนึงที่จะสามารถมอบสิ่งนี้ให้กับคุณได้ดังที่คุณต้องการ



วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นิวรอน

ในหัวสมองของเรามีสารสื่อประสาทหรือนิวรอนอยู่นับล้านๆเซล แต่ละนิวรอนบรรจุไปด้วยข้อมูลต่างๆ ที่จะประกอบขึ้นเป็นจิตใจของเรา เราถ่ายทอดสิ่งที่บรรจุในนิวรอนเหล่านี้ออกมาสู่โลกภายนอกด้วย "ภาษา" ที่พวกเราใช้ในการสื่อสาร

หลักการง่ายๆ ของนิวรอนเหล่านี้ก็คือ ยิ่งเราใช้นิวรอนตัวใดบ่อยๆ นิวรอนตัวนั้นก็จะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งโตมากมันก็ยิ่งทำงานได้อย่างเร็วและมีอำนาจ แล้วถ้ามันโตมากเพียงพอมันก็อาจจะไปเกาะเกี่ยวโครงข่ายเข้ากับนิวรอนอื่นๆ ทำให้นิวรอนตัวนี้ส่งอิธิพลไปยังนิวรอนอื่นที่อยู่ข้างเคียงด้วย ในทางตรงกันข้าม นิวรอนที่ไม่ได้ใช้งานก็จะเสื่อมสลายไปเองตามธรรมชาติ บ่อยครั้งที่สมองของเราจะย่อยสลายนิวรอนที่ไม่จำเป็นออกไปบ้างเพื่อให้สมองของเรามีพื้นที่เพียงพอเหลือเฟือต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งนิวรอนที่ไม่ค่อยได้ใช้งานนี่แหละจะเป็นพวกแรกที่โดนย่อย

นิวรอนจะเจริญเติบโตได้อย่างไร?

ก็เมื่อเราใช้มันโดยผ่านทางความคิด คำพูด รวมไปถึงการกระทำ

นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมเราจึงต้องหมั่นคิด พูด และทำในสิ่งที่สร้างสรรค์ สิ่งที่เราต้องการให้มันมีความเจริญก้าวหน้า

หัวใจสำคัญคือเราต้องฉลาดที่จะเพาะเลี้ยงนิวรอนบางตัวให้โต และทำให้นิวรอนไร้ประโยชน์บางตัวหมดความสำคัญลงไป

เพราะตัวตนของเราประกอบขึ้นด้วยนิวรอนครับ



อิธิพลของการรับรู้

มีการทดลองประหลาดๆอันหนึ่งเกิดขึ้น คือเขาแบ่งผู้รับการทดลองเป็นสองกลุ่ม ทั้งสองกลุ่มเหมือนกันคือให้เล่นเกมเรียงคำ (มีไพ่เป็นใบๆ มีคำต่างๆ ในไพ่แล้วให้เรียงคำเหล่านี้ให้เป็นประโยค) ความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ก็คือ ไพ่กลุ่มแรกมีคำไปในทำนองว่า "แก่ เชื่องช้า หย่อนยาน บลาๆๆ" ในขณะที่กลุ่มหลังเป็นคำในทำนองว่า "หนุ่มสาว รวดเร็ว แคล่วคล่อง ว่องใว บลาๆๆๆ"

เมื่อการเล่นเกมจบลง คนทั้งสองกลุ่มก็ถูกร้องขอให้กลับไป โดยให้เดินไปที่ลิฟท์ที่อยู่ใกลออกไป

ผลประกฏว่า ..... ค่าสถิตโดยรวมแล้วคนในกลุ่มแรกใช้เวลาในการเดินทางไปถึงลิฟท์กว่ากลุ่มที่สองอย่างเห็นได้ชัด ความเร็วในการเดินทางของคนกลุ่มแรกโดยรวมแล้วต่ำลงอย่างชัดเจนในขณะที่ความเร็วของคนกลุ่มหลังกลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนเช่นกัน

นี่คืออธิพลโดยตรงของการสื่อสารที่มีต่อพวกเราไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เมื่อเรารับรู้ทันใดนั้นนิวรอนมันจะเกิดขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลที่รับรู้นั้นเอาไว้ และยิ่งเราเรียนรู้มันซ้ำๆใช้งานมันซ้ำๆ นิวรอนตัวนั้นก็ยิ่งเะจริญเติบโตและส่งอธิพลต่อชีวิตของเราโดยอัตโนมัติ

เพราะตัวตนของเราทุกคนประกอบขึ้นด้วยนิวรอนนับล้านๆเซลครับ



8 Success

จากการวิจัยของนัก NLP พวกเขาพบว่าโดยสถิตแล้ว ผู้สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้มักจะมีองค์ประกอบชีวิตบางประการที่เหมือนกันหรือคล้ายกัน 8 ข้อดังต่อไปนี้

1. มีเป้าหมายในชีวิตชัดเจน

2. นึกถึงความทุกข์หรือความผิดพลาดในอดีตน้อยกว่าคนทั่วไป

3. เมื่อเผชิญเหตุการณ์ร้าย พวกเขาถนัดที่จะมองมันให้เป็นด้านบวกมากกว่าคนทั่วไป

4. หลายคนมีอุปนิสัยจดบันทึกเรื่องตัวเอง หรือเขียนเป้าหมายตัวเองออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

5. มักจะวางเป้าหมายความสำเร็จสอดคล้องกับอาชีพ การศึกษา ครอบครัว หรือท้องถิ่นที่อาศัย

6. แข่งขันกับตนเอง หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบกับผู้อื่นหรือสิ่งอื่น
7. มีแนวโน้มที่จะแสวงหาความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน

8. รู้คุณค่าของตนเอง






น้ำหนักของถ้อยคำ

หากคุณเรียก .... "ยาม" ว่า "Security Guard"

หากคุณเรียก .... "แอร์-สจ๊วรต" ว่า "Flight Attendance"

หากคุณเรียก .... "หมอโรคจิต" ว่า "จิตแพทย์"

หากคุณเรียก .... "หมอหมา" ว่า "สัตวแพทย์"

บางทีผู้ฟังจะมีความสุขมากขึ้น จะรู้สึกดีมากขึ้น และมีการตอบสนองที่ดีมากขึ้น

NLP เรียกความแตกต่างระหว่างถ้อยคำที่มีความมหายเหมือนกันเหล่านี้ว่าว่า "น้ำหนักของคำ"

คือความหมายถึงแม้ว่าจะเป็นอย่างเดียวกันก็ตาม แต่กลับมีน้ำหนักหรือให้การตอบสนองจากผู้รับที่แตกต่างกัน และระบบประสาทของคนเรานั้นพร้อมที่จะรับฟังรู้ที่ทำให้ตัวเองรู้สึกพึงพอใจอยู่แล้ว

ถ้ารู้จักเลือกใช้ให้ถูกจังหวะ คุณก็จะได้เปรียบในการสื่อสารของคุณ

เช่น ....ถ้าในร้านอาหารที่วุ่นวาย คุณพยามเรียกพนักงานเสริฟว่า "น้องๆๆ" อยู่หลายรอบก็ยังไม่ได้รับการตอบสนอง แต่พอคุณเรียกว่า "คนสวย" การตอบสนองก็อาจจะเกิดขึ้นได้โดยฉับพลันทันที

ทำไม? มันเกิดอะไรขึ้่น? .... คือมันอย่างนี้ครับ

ในระบบประสาทส่วนลึก ใครๆ ก็อยากเป็นคนสวย(คนหล่อ)ด้วยกันทั้งนั้น (โดยปรกติแล้ว) มนุษย์เรามีสัญชาติญาณระดับจิตใต้สำนึกในเรื่องนี้อยู่ทุกคน

ดังนั้นพอมีเสียงเรียกว่าคนสวย คำถามก็คือใครล่ะคือคนสวย? เพื่อการนี้จิตใต้สำนึกมันก็เลยตะโกนขึ้นว่า "ฉันเอง!!!" ถ้าเมินเฉยต่อคำนี้แล้วล่ะก็ .... นี่มันก็เป็นการใจร้ายต่อตัวเองไปซักหน่อย จิตใต้สำนึกมันไม่ยอมหรอก

 ... ดังนั้นเพื่อให้เกิดการยอมรับต่อคำนามนี้อย่างเต็มที่ยิ่ง ... การตอบสนองที่ดีจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามมาเพื่อยืนยันว่า "นั่นแหละฉันเอง"






วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

Comfort Zone


ธรรมชาติออกแบบสมองและระบบประสาทของเราให้มีความสามารถในการอยู่รอด การทำอย่างไรก็ได้ให้ชีวิตสามารถอยู่รอดต่อไปได้คือเป้าหมายพื้นฐานที่สำคัญที่สุด เพื่อการนี้ระบบประสาทของเราจึงสร้างกลไกที่เรียกว่า Comfort Zone ขึ้นมาเพื่อลดความเสี่ยงใดๆ ก็ตามที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในชีวิตของเรา

 Comfort Zone คืออะไร?

มันเป็นภาพจำลองของพื้นปลอดภัยที่จิตใจของเราสร้างขึ้นมา ในพื้นที่ Comfort Zone นี้เราจะรู้สึกว่ามันปลอดภัยหรืออย่างน้อยก็รู้สึกว่ามันดีอยู่แล้วสมควรที่จะดำเนินอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ

หลักการง่ายๆ ของมันมีอยู่ว่า มนุษย์เรานั้นไม่มีความสามารถสามารถในการที่รู้ได้อย่างแน่ชัดว่าจะเกิดอะไรกับเราบ้างในอนาคต เช่นถ้าเราย้ายถิ่นฐานไปที่อื่นอะไรจะเกิดขึ้นกับเราหรือถ้าถ้าเราทำในสิ่งใหม่อะไรจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา ดังนั้นเพื่อให้มันจะปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะทำได้ สมองและระบบประสาทของเราจึงเลือกหนทางที่มันคิดว่าดีที่สุดและง่ายที่สุดขึ้นมา นั่นก็คือ “การไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงอะไรเลย” ถ้าเราไม่ย้ายหรือไม่ทำอะไรที่มันแปลกใหม่ เราอยู่ที่เดิมทำอะไรแบบเดิมๆ ปล่อยให้ทุกสิ่งมันดำเนินไปเหมือนกับที่มันเคยดำเนินไปได้ในทุกๆ วัน ผลลัพธ์มันก็ย่อมจะเหมือนเดิม การเหมือนเดิมอย่างกับทุกวันที่ผ่านมานี้เป็นเครื่องการันตีอย่างชัดเจนว่าฉันยังปลอดภัยดี ฉันยังปรกติดี หรืออย่างน้อยฉันก็ยังคงมีชีวิตต่อไปได้เหมือนกับทุกๆ วันที่ผ่านมา

เพื่อให้แน่ใจว่าชีวิตของเราอยู่จะใน Comfort Zone ที่ (มันคิดว่า) ปลอดภัย ระบบประสาทของเราจึงสร้างเครื่องมือป้องกันไม่ให้เราใช้ชีวิตก้าวล่วงออกจากพื้นที่ Comfort Zone นี้เหมือนกับการที่เราล้อมคอกขังวัวควายเอาไว้ เพื่อไม่ให้หนีหายไปที่ไหน เครื่องมือที่ว่านี้ก็เช่น

“ความรู้สึกว่าฉันกลัว”
“ความรู้สึกว่าฉันสำเร็จสมบูรณ์ดีแล้ว”
“ความเพ้อฝันถึงอนาคตที่แสนหวานของฉัน”
“ความรู้สึกว่าฉันผิดหรือฉันต้องการไถ่ถอนความผิด”
“ความรู้สึกว่าฉันเหนื่อยแล้ว พอแล้ว”
“ความรู้สึกว่าฉันไม่สามารถ หรือฉันไม่มีวัน”
“ความรู้สึกว่าสิ่งนั้นมันเป็นไปไม่ได้”
“ความรู้สึกว่าใครๆ เขาจะไม่ยอมรับหรือจะไม่ชอบ”

ความจริงยังมีรูปแบบเครื่องมือของ Comfort Zone อีกเป็นจำนวนมาก แต่ที่กล่าวมานี้คือเครื่องมือหลักๆ ที่เรามักจะพบเจอกันอยู่บ่อยๆ ความจริงความรู้สึก (ที่เราเปรียบว่ามันเป็นเครื่องมือ) เหล่านี้มันถูกระบบประสาทของเราสร่างขึ้นมาเพื่อพยามปกป้องตัวมันเองให้อยู่รอดปลอดภัย ซึ่งมันก็เคยใช้ได้ผลดีเมื่อตอนที่พวกเรายังเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยอยู่ในป่าเป็นฝูงๆ เหมือนอย่างเมื่อหลายหมื่นหลายแสนปีก่อน เราไม่อยากย้ายถิ่นฐาน เราไม่อยากออกไปหาอาหารในที่เราไม่เคยไป เราไม่อยากเสี่ยงทำอะไรที่เราไม่เคยทำมาก่อน ทุกอย่างก็เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะยังสามารถมีชีวิตต่อไปได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

มันเคยเป็นระบบที่ยอดเยี่ยม แต่ไม่ใช่สำหรับวันนี้

ทุกวันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป สภาพสังคมของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป ความสลับซับซ้อนทางสังคมและความต้องการ ปัจจัยในการดำรงชีพของมนุษย์สูงมากขึ้น ละเอียดอ่อนมากขึ้น และสลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ จาก Comfort Zone ที่เคยทำหน้าที่ปกป้องไม่ให้เราได้รับกับอันตรายทุกวันนี้มันกลายสภาพเป็นคอกปิดกั้นความสำเร็จของเราไปเสียแล้ว หลายคนมีชีวิตย่ำอยู่กับที่ปล่อยให้หลายสิ่งหลายอย่างผ่านเข้ามาในชีวิตและผ่านอกไปอย่างว่างเปล่า เราปล่อยให้ Comfort Zone ปิดกั้นตัวเราเอาไว้ด้วยความรู้สึกกลัว ไม่กล้า ไม่มั่นใจ และอีกอะไรอีกมามายหลายอย่างซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยฉุดรั้งชีวิตของเราให้ย่ำอยู่กับที่

ทุกวันนี้เราไม่พอใจเพียงแค่การหาอาหารในเขตหรือถิ่นอาศัยของตัวเอง แต่ชีวิตของเราต้องการเดินไปข้างหน้า เดินไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการ ไม่ใช่แค่เราเดินอยู่คนเดียว บ่อยครั้งมันเป็นการแข่งขันกัน ใครล่ะจะเป็นคนที่ไปถึงและคว้าเอาเป้าหมายนั้นมาไว้ในมือได้ก่อนคนอื่น เมื่อติดอยู่ในคอกกั้น และเราไม่สามารถก้าวพ้นคอกกั้นนี้ออกไป การเดินทางไปจนถึงเป้าหมายอันเป็นความสำเร็จที่รออยู่ข้างหน้าจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ การแข่งขั้นกันเพื่อไปให้ถึงก่อนก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้เป็นเช่นกัน

เมื่อเราต้องการความสำเร็จ ต้องการชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิมชีวิตที่ดีกว่าที่เคยเป็นอยู่ เรามีความจำเป็นต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงบางอย่างให้เกิดขึ้น การมีชีวิต “เหมือนเดิม” อาศัยอยู่ใน Comfort Zone ที่แสนสบายไม่อาจทำให้เราไปถึงจุดนั้นได้เลย นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงต้องฝึกออกจาก Comfort Zone ที่ขังชีวิตของเราเอาไว้

เราจะออกจาก Comfort Zone ได้อย่างไร?

คำตอบของมันไม่มีอะไรมากไปกว่าการ “ฝึก"

เราต้องฝึกที่จะทำบางสิ่งที่ท้าทาย ไปให้ถึงจุดที่คิดว่ามันเป็นขีดจำกัดของเราแล้วข้ามพ้นมันไปให้ได้ ฝึกที่เอาชนะขีดจำกัดของตัวออกไปเรื่อยๆ ฝึกต่อสู้กับตัวเอง (บางครั้งอาจจะต้องฝึกสู้กับคนอื่น) เรียนรู้ที่จะเอาชนะตัวเอง ทำลายสถิติของตัวเอง ขยายพื้นที่ภายในจิตใจของเราออกไปไปเรื่อยๆ

ประสบการณ์เล็กๆ แต่ทรงพลังที่แสนยอดเยี่ยมนี้จะทำให้ชีวิตของคุณเปลี่ยนไป


วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Behavioral Frame


กรอบของพฤติกรรม (Behavioral Frame) หมายถึงถ้อยคำภาษาที่ถูกใช้ออกไปแล้วส่งผลให้บริบทของความคิด คำพูด หรือการกระทำมันหยุดลงอยู่แค่นั้นไม่สามารถขยับขยายไปในทิศทางที่สร้างสรรค์กว่าที่เป็นอยู่ได้อีก เช่น

“ปัญหา” ... งานที่ทำอยู่มันมีแต่ปัญหาเต็มไปหมด

“ทำไม?” ...ทำไมเรื่องร้ายๆ จึงเกิดขึ้นกับฉันไม่หยุดหย่อน

“ล้มเหลว” ...ชีวิตแต่งงานของฉันล้มเหลวไม่เป็นท่า

“เป็นไปไม่ได้!” ....การทำอย่างนั้นมันเป็นไปไม่ได้หรอก

“เสียเวลาเปล่าๆ” ....มัวแต่สนใจเรื่องหยุมหยิมแบบนี้เสียเวลาเปล่าๆ

กรอบหรือคอกล้อมวัวพวกนี้จะขังคุณเอาไว้ไม่ให้สามารถขยับไปไหนได้เลย ทั้งที่จริงๆ แล้วเลยคอกออกไปอีกสิบเมตรอาจจะเป็นความสำเร็จอย่างสวยงามที่กำลังรอคุณอยู่ก็ได้

ดังนั้นจงเปลี่ยนภาษาที่คุณใช้ เพื่อเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง

“ปัญหา เป็นผลลัพธ์”
....งานที่ทำอยู่ผลลัพธ์ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก

“ทำไม? เป็นอย่างไร?”
...ทำอย่างไรเรื่องราวร้ายๆ ในชีวิตของฉันมันจะหมดๆ ไปเสียที?

“ล้มเหลว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น”
...สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตแต่งานของฉันก็คือการแยกทางกัน

“เป็นไปไม่ได้! เป็นอะไรที่จะทำให้มันเกิดขึ้นได้?”
...จะทำอย่างไรให้เรื่องนั้นมันเกิดขึ้นมาจริงๆ นะ?

“เสียเวลาเปล่าๆ เป็นศึกษารายละเอียด”
...การศึกษารายละเอียดของเรื่องนั้นทำให้ฉันได้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกมาก

.
.
.
เปลี่ยนแล้วปัญหามันไม่จะถูกแก้ไขให้หมดไปในทันทีหรือคุณจะประสบความสำเร็จทันทีเหมือนถูกหวยหรอกครับ

"แต่มันจะเปิดทางให้คุณเดินไปต่อได้"

นั่นแหละครับคือสิ่งที่ NLP ต้องการจริงๆล่ะ





Why and How


?

คำถามว่า "ทำไม!" (Why) มันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา
ถามว่า "อย่างไร" (How) ต่างหากที่คุณต้องการ

"ทำไมอาหารจึงช้า ฉันรอเป็นชั่วโมง!"
คำถามแบบนี้ไม่ได้ช่วยอะไรเลย ไม่ได้ช่วยให้คุณหายโมโห และก็ไม่ได้ช่วยให้คุณได้อิ่มท้องด้วย มีแต่ยิ่งถามก็ยิ่งโมโหหิวมากขึ้นเรื่อยๆ

เปลี่ยนใหม่ Re-Pattern ของคุณเสีย

"อาหารช้าเป็นชั่วโมง ฉันหิวมาก ฉันจะได้รับการชดเชยอย่างไร?"
บางทีจากคำถามนี้คุณอาจจะทานอาหารดีๆฟรีๆซักเมื้อสองเมื้อก็ได้นะครับ

มันสร้างสรรคกและได้ประโยชน์ว่ากันเยอะเลย ..... หรือคุณว่าไม่จริง?






วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Picasso




กาลครั้งหนึ่งนามมาแล้ว ปีกัสโซ่ (Picasso) ศิลปินเอกคนหนึ่งของโลกโดนยิงคำถามมาจากชายคนหนึ่งว่า

"ทำไมคุณจึงไม่วาดภาพที่มันเหมือนจริงล่ะ?" เมื่อได้ฟังดังนั้นปีกัสโซ่จึงถามกลับไปว่า "เหมือนจริงแบบใหนล่ะ?"

ชายคนนั้นจึงหยิบรูปถ่ายภรรยาของตัวเองออกมาจากกระเป๋าเสื้อ (ซึ่งเป็นภาพขาวดำตามยุคสมัยนั้น) เขายื่นให้ปีกัสโซ่ดูอย่างภาคภูมิใจแล้วบอกว่า

“นี่คือภรรยาของผม ภาพนี้มันเหมือนจริงมากและคุณก็ควรวาดให้ได้เหมือนจริงอย่างนี้มากกว่าภาพเบี้ยวๆ ของคุณนะ”

ปีกัสโซ่หยุดมองภาพนั้นอย่างครุ่นคิดครู่หนึ่งทีเดียว จากนั้นก็พูดขึ้นว่า

"ภรรยาของคุณเป็นคนสวยนะ แต่เธอน่าสงสารมาก ดูซิผิวพรรณเธอไม่มีสีเลือดเลยเลย ตัวเธอก็เล็กมากกว้างยาวแค่ไม่กี่นิ้วเห็นจะได้แถมยังแบนแต๋ดแต๋เลย ผิวของเธอยังเย็นๆ อีกด้วยสงสัยเธอจะไม่สบายนะ คุณน่าจะแลเธอให้ดีหน่อย"

นี่อาจจะเป็นอารมณ์ขันปนประชดประชันของปีกัสโซ่ที่ใช้ตอกหน้าชายคนนั้นกลับไปเฉยๆ ก็ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้จากเรื่องนี้ก็คือ บ่อยครั้งแค่ไหนที่เราให้ปล่อยให้ความหมายที่เรากำหนดให้ต่อสิ่งต่างๆ กลายมาเป็นสิ่งเหล่านั้นเสียเอง เหมือนอย่างที่ชายคนนั้นได้ปล่อยให้ภาพถ่ายในกระดาษกลายเป็นภรรยาของเขาจริงๆ (ถึงแม้ว่าจะผ่านทางการประชดของปีกัสโซ่ก็ตามเถอะ) บ่อยครั้งแค่ไหนที่เราปล่อยให้อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการสรุปเหตุการณ์ของเราเองกลายมาเป็นรายละเอียดของเหตุการณ์นั้นจริงๆ หรือบ่อยครั้งแค่ไหนเราปล่อยให้ความรู้สึกที่เรามีต่อคนๆ หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นจากการสรุปความหมายของเราเองกลายเป็นตัวตนของคนๆ นั้นไปอย่างสมบูรณ์

มันไม่ใช่แค่บทสรุป มันไม่ใช่แค่ตัวแทน แต่มันกำลังจะเป็นสิ่งนั้นจริงๆ ในการรับรู้ของเรา แผนที่ที่เราวาดขึ้นกำลังกลายเป็นพื้นที่นั่นอย่างสมบูรณ์แล้วอย่างนั้นหรือ?

ไม่มีทาง!

“แผนที่ไม่ใช่พื้นที่” (The Map is not Territory)

นี่เป็นประโยคที่มีความสำคัญต่อผู้ศึกษาเอ็นแอลพีเป็นอย่างมาก กล่าวคือเอ็นแอลพีเปรียบวิธีการรับรู้ของระบบประสาทของเราเป็นเหมือนกับการมองไปยังแผนที่ฉบับหนึ่งที่เราวาดขึ้นมาอธิบายรายละเอียดของพื้นที่ จากนั้นก็ตอบสนองกับแผนที่นั้นอย่างเต็มที่แทนที่เราจะมองและตอบสนองต่อพื้นที่นั้นโดยตรง การทำแบบนี้ช่วยให้สมองของเราทำงานได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นและประหยัดพลังงานยิ่งขึ้น
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ศึกษาเอ็นแอลพีจะต้องระลึกอยู่เสมอก็คือ “แผนที่ก็ย่อมเป็นเพียงแผนที่ ไม่สามารถเป็นพื้นที่จริงได้โดยเด็ดขาด” หมายถึงการรับรู้ก็ย่อมเป็นได้แค่การรับรู้ มันไม่มีทางที่จะเป็นสิ่งเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเด็ดขาด หรือแปลความกันอีกทีก็คือ

“เหตุการณ์ที่เกิดและสิ่งที่คุณรับรู้มันคือคนล่ะเรื่องกันอย่าได้เผลอเอาไปรวมกันเป็นอันขาด”






นักอธิบาย

บางทีเราก็ช่างเป็นนักอธิบาย

เวลาเราพูดถึงปัญหา เรากลัวคนอื่นไม่เข้าใจ กลัวคนอื่นไม่ยอมรับ เราไม่ค่อยมั่นใจตัวเองเท่าไหร่

เราก็เลยใช้ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเวลาในการ "อธิบายปัญหา"

แทนที่จะพูดถึง "วิธีแก้ปัญหา" ....




พลังแห่งข้ออ้าง


เพื่อไปให้ถึงเส้นชัย เพื่อไปให้ถึงผลลัพธ์ที่คุณต้องการ คุณจำเป็นต้องเขี้ยวเข็นตัวเองให้หนักยิ่งขึ้น พยามมากยิ่งขึ้น ฝ่าฟันมันด้วยกำลังที่เต็มที่ยิ่งขึ้น ข้อผิดพลาดต่างๆ จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

.... เรื่องง่ายๆ แบบนี้ผมคิดว่าใครๆ ก็รู้

แต่คุณจะทำแบบนั้นได้อย่างไรในเมื่อคุณยังคงเต็มไปด้วย "ข้ออ้าง" มากมายที่คอยปกป้องตัวคุณไม่ให้ไปถึงจุดเหล่านั้น

ผมตื่นสายก็เพราะว่า.........................(ผมไม่ผิดนะ)
ผมฝึกซ้อมน้อยลงก็เพราะ .................(ผมไม่ผิดนะ)
ผมนิ่งนอนใจก็เพราะว่า .....................(ผมไม่ผิดนะ)
ผมไม่ทำอย่างนั้นเพราะ.....................(ผมไม่ผิดนะ)

ข้ออ้างต่างๆ มันคอยปกป้องคุณอยู่ตลอด แน่นอนว่าด้วยอำนาจอันยิ่งใหญ่ของสารพัดข้ออ้างแล้ว มันทำให้คุณไม่ผิด!

คุณไม่ผิด! และไม่มีวันผิดด้วย! นี่แหละพลังอำนาจของข้ออ้าง

...................

ในเมื่อคุณไม่ผิด คุณมองไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รู้สึกซักนิดว่าคุณผิดแล้ว คุณพลาดแล้ว....

"แล้วคุณจะพัฒนาตัวคุณให้บินสูงกว่านี้ ไปใกลกว่านี้ได้ยังไง?"

ถามจริงๆ มันจะดีกว่านี้ได้ยังไง(วะ)ถ้าคุณไม่ยอมรับเสียก่อน?




ข้ออ้าง






Love






วงล้อม





สิ่งที่อยู่ภายใน


แผนที่การรับรู้ภายในจิตใจย่อมถูกถ่ายทอดออกมาด้วยถ้อยคำและภาษาที่ถูกสื่อสารออกมา

ภายในจิตใจเป็นอย่างไรย่อมถูกถ่ายทอดออกมาจากสิ่งที่เขาพูด

ความดักดานของผู้คนก็เช่นกัน ท่านย่อมสามารถสังเกตได้จากสิ่งที่พวกเขาพูดออกมา

และถ้าจะแก้ไข ..... ก็เริ่มที่การแก้ไขคำพูดนั่นแหละ






วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลำดับขั้นตอนที่ควรจะเป็น


โอ้ย แย่แล้ว ลูกค้าจะมาแล้วยังเตรียมงานไม่ทันเลย!!! ..... อารมณ์ก็ชักจะเสียมากขึ้นทุกทีๆ

นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ ของ Strategy ที่ผิดขั้นตอน

ผิดยังไง?

ก็ลูกค้ายังไม่ได้มาแต่เราเอาเรื่องนี้มาก่อน จากนั้นก็เอางานที่กำลังทำอยู่ตามมาทีหลัง ผลคืออารมณ์เสียเพราะรู้สึกว่างานไม่ทันแล้ว ทั้งๆที่จริงแล้วลูกค้ายังไม่โผล่มาเลยซักคน!!!

ถ้าสลับตำแหน่งกันซักนิด เอางานที่ทำมาก่อนลูกค้าที่จะมาเอาไว้ทีหลังคิดถึงงานที่กำลังทำก่อนคิดถึงลูกค้าที่กำลังจะมา(คือยังมาไม่ถึงหรอก) อะไรๆมันจะง่ายขึ้นอีกเยอะ

ลองสำรวจดูครับว่าวันๆเรามี Strategy อะไรที่มันผิดขั้นผิดตอนหรือ แล้วมันก่อปัญหาอะไรให้เราบ้าง และที่สำคัญคือ

ลำดับ Strategy ที่ถูกต้องจริงๆ ของมันควรเป็นอย่างไร?




Strategy





คำว่า Strategy ใน NLP มันแปลกันว่า "กลยุทธ" หรือไม่ก็ "กลวิธี" ความจริงแล้วอธิบายให้ง่ายกว่านั้นก็คือ "ลำดับขั้นตอน"

คือ NLP จะบอกว่าผลลัพธ์ใดก็ตามที่มันเกิดขึ้นมันไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นเองได้ ทุกสิ่งมันมีลำดับความเป็นมาของมันตั้งแต่เริ่มจนไปถึงได้ผลลัพธ์ โดยจำนวนขั้นตอนก็อาจจะสั้นบ้างยาวบ้างก็แล้วแต่กรณี

ลองนึกถึงไข่เจียวที่วางในจานหอมกรุ่นอยู่ตรงหน้า คุณคิดว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร? แน่นอนมันไม่ได้เกิดขึ้นได้เอง แต่มันเกิดขึ้นด้วยลำดับขั้นตอนของมัน เริ่มตั้งแต่เดินเข้าไปในครัว หยิบไข่ไก่ออกมาตอกลงในชาม เดินไปหยิบกะทะวางลงที่เตา เปิดแกส และอะไรเรื่อยไปจนถึงได้เป็นไข่เจียวออกมานั่นแหละ

ความจริงกระบวนการ Strategy ไข่เจียวนี้อาจจะย้อนกลับได้จนถึงว่าทำไมคุณจึงตัดสินใจเดินไปทอดไข่เจียว เกิดอะไรขึ้นในหัวของคุณ แน่นอนมันก็ต้องมีลำดับขั้นตอนของมันเช่นกัน

หลักง่ายๆ ของ Strategy ก็คือ ทุกอย่างในโลกนี้เกิดขึ้นมาอย่างมีลำดับขั้นตอนเสมอ

และเพื่อให้ผลลัพธ์มันคงเดิม กระบวนการหรือลำดับขั้นตอนมันจำเป็นที่จะต้องรักษาเอาไว้เหมือนเดิมทุกประการ ถ้ากระบวนการหรือขั้นตอนบางอย่างมันถูกเปลี่ยน ผลสุดท้ายมันก็ย่อมเปลี่ยนตามไปด้วย

อีกประการหนึ่งก็คือ สำหรับผลลัพธ์ใดก็ตามที่มันเกิดขึ้น ถ้ามันดีก็เพราะว่าลำดับขั้นตอนที่ทำให้เกิดผลนั้นมันดี แต่ถ้ามันแย่ก็หมายความว่าลำดับที่ทำให้เกิดผลมันผิดมาตั้งแต่ต้นแล้ว ถ้าอยากเปลี่ยนผลให้ดีก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขลำดับขั้นตอนใหม่ อาจจะแค่สลับขั้นตอนหรือไม่ก็เปลี่ยนวิธีการบางขั้นตอน แล้วทุกอย่างก็จะเปลี่ยนไปหมด

ความคิดของเรา อารมณ์ของเรา พฤติกรรมของเรา หรือแม้แต่ความสำเร็จในชีวิตของเรา ทั้งหมดนี้ก็เป็นไปในรูปของ Strategy ทั้งสิ้น

ถ้าหาเจอ เปลี่ยนมันซะ ทุกอย่างก็เปลี่ยนครับ





Believe



คำว่า Believe หรือ "ความเชื่อ" ที่ผมได้ตะบี้ตะบันบ่นถึงอยู่ทุกวี่วันว่ามัน "คำคัญ" ไม่ใช่ความเชื่อประเภทศัทธาจริต เชื่อบุญกรรม เชื่อเทพเทวา เชื่อดวงชะตา หรือเชื่อถือศัทธาในอีกสารพัดสิ่งที่ที่ผู้คนในสังคมจะเชื่อถือยึดเหนี่ยวกันได้

เพราะ Believe หรือ "ความเชื่อ" ในที่นี้หมายถึง.....

"ความจริงที่คุณยอมรับและยึดมั่นอย่างไร้เงื่อนไขและข้อสงสัยใดทั้งสิ้น"

ดังนั้นความเชื่อจึงเป็นกรอบหรือเป็นเขตแดนกักขังมนุษย์ที่เบ็ดเสร็จสมบูรณ์ที่สุด

ไม่มีใครที่ไร้ความเชื่อ .... เพียงแต่ว่าความเชื่อที่คุณมีนั้นมีขอบเขตกว้างขวางแค่ใหน? คุณได้รับอิสระภาพจากความเชื่อของคุณมากน้อยแค่ไหน?

หรือพูดง่ายๆก็คือคุณได้ประโยชน์จากความเชื่อของคุณมากน้อยแค่ไหน?






Belief and Value




ความเชื่อ(Belief) = แผนที่
ค่านิยมหรือการให้คุณค่า(Value) = เข็มทิศ

เมื่อคุณจะกางใบล่องทะเล 2 สิ่งนี้คือสิ่งที่คุณต้องพึงพามันมากที่สุด

เมื่อชีวิตของคุณมุ่งหน้าไปในอนาคต 2 สิ่งนี้คือสิ่งที่มีอิธิพลต่อคุณมากที่สุด

มันต้องพร้อมครับ ......มันต้องพร้อม!!!!





ข้อสรุปแด่ทุกสิ่ง?


อย่าใช้คนเพียงเดียวเป็นบทสรุปของของผู้คนอีกนับล้านบนโลกนี้ ..... และขออย่าได้ใช้อารมณ์จากเพียงเหตุการเดียวมาเป็นทั้งหมดของชีวิตที่เหลืออยู่

นี่มันไม่เข้าท่าเอาเสียเลย

...... หรือคุณว่ามันเข้าท่าดี?




ถ้อยคำแด่ตนเอง

แม้แต่คำพูดที่เป็นสิ่งไร้ต้นทุน (คือท่านไม่ต้องจ่ายไม่ต้องแลกมาด้วยอะไรเลย) หากท่านไม่สามารถหยิบยื่นรูปแบบที่สร้างสรรค์ให้กับตัวเองได้เสียแล้ว .....

แล้วสิ่งอื่นที่มีต้นทุน ท่านจะยิบยื่นสิ่งที่สร้างสรรค์ให้กับตนเองได้อย่างไร?



ผู้ชนะ


"ผู้ชนะ"





so hard




เราบอกว่าสิ่งนั้น "มันยาก" ก็เพื่อเป็นเกราะกำบังไม่ให้เราต้องทำสิ่งนั้น .... ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

ยิ่งพูดคำว่า "มันยาก" ซ้ำเรื่อยๆ เกราะกำบังมันก็ยิ่งถูกเพิ่มความหนาขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมันไม่ได้ช่วยอะไรเลยนอกจากจะเพิ่มความสามารถในการหาข้อสมอ้างในการหลบหนีการทำสิ่งนั้นไปเรื่อยๆ

ถามจริงๆ คุณคิดว่ามันดีแล้วเหรอกับการหลบหนีหลีกเลี่ยงๆไปเรื่อยๆ? เพื่ออะไร? เพื่อที่คุณจะได้หลบหนีได้อย่างชำนานขึ้นเรื่อยๆ อย่างนั้นหรือ?

ในเมื่อคุณกำลังหนีเป้าหมายเอง คุณกำลังสร้างเกราะหนามาบังคุณให้พ้นจากเป้าหมาย ..... พอคุณไปไม่ถึงเป้าหมาย แล้วคุณจะโทษใคร?

คุณจะโทษใคร?

อย่าช้าเปลี่ยนมันเสียเดี๋ยวนี้เลย จาก "มันยาก" ให้เป็นคำที่สร้างสรรค์กว่า ความจริงมันไม่ยากหรอกเพราะมันแค่ "ยังไม่เคยทำ" "มันซับซ้อนซักหน่อย" "มันเป็นงานละเอียด" "มันท้าทาย" หรือไม่ก็ "มันเป็นสิ่งที่ต้องทุ่มเท"

เลือกเอาซักอย่างเถอะครับ เอามาทดแทนของเก่าที่มันไม่สร้างสรรค์เสียเลย ..... คุณยังคงสื่อสารรู้เรื่องเหมือนเดิมแต่ความหมายที่มันสื่อออกไปสู่โลกภายนอก และแรงสั่นสะเทือนที่มันส่งไปยังโลกภายในจิตใต้สำนึกของคุณ

มันยอดเยี่ยมกว่ากันเยอะ!!!!

อย่าลืมว่าแค่เปลี่ยนคำที่คุณพูด .... ทุกอย่างก็เปลี่ยน!!!!