วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Behavioral Frame


กรอบของพฤติกรรม (Behavioral Frame) หมายถึงถ้อยคำภาษาที่ถูกใช้ออกไปแล้วส่งผลให้บริบทของความคิด คำพูด หรือการกระทำมันหยุดลงอยู่แค่นั้นไม่สามารถขยับขยายไปในทิศทางที่สร้างสรรค์กว่าที่เป็นอยู่ได้อีก เช่น

“ปัญหา” ... งานที่ทำอยู่มันมีแต่ปัญหาเต็มไปหมด

“ทำไม?” ...ทำไมเรื่องร้ายๆ จึงเกิดขึ้นกับฉันไม่หยุดหย่อน

“ล้มเหลว” ...ชีวิตแต่งงานของฉันล้มเหลวไม่เป็นท่า

“เป็นไปไม่ได้!” ....การทำอย่างนั้นมันเป็นไปไม่ได้หรอก

“เสียเวลาเปล่าๆ” ....มัวแต่สนใจเรื่องหยุมหยิมแบบนี้เสียเวลาเปล่าๆ

กรอบหรือคอกล้อมวัวพวกนี้จะขังคุณเอาไว้ไม่ให้สามารถขยับไปไหนได้เลย ทั้งที่จริงๆ แล้วเลยคอกออกไปอีกสิบเมตรอาจจะเป็นความสำเร็จอย่างสวยงามที่กำลังรอคุณอยู่ก็ได้

ดังนั้นจงเปลี่ยนภาษาที่คุณใช้ เพื่อเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง

“ปัญหา เป็นผลลัพธ์”
....งานที่ทำอยู่ผลลัพธ์ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก

“ทำไม? เป็นอย่างไร?”
...ทำอย่างไรเรื่องราวร้ายๆ ในชีวิตของฉันมันจะหมดๆ ไปเสียที?

“ล้มเหลว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น”
...สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตแต่งานของฉันก็คือการแยกทางกัน

“เป็นไปไม่ได้! เป็นอะไรที่จะทำให้มันเกิดขึ้นได้?”
...จะทำอย่างไรให้เรื่องนั้นมันเกิดขึ้นมาจริงๆ นะ?

“เสียเวลาเปล่าๆ เป็นศึกษารายละเอียด”
...การศึกษารายละเอียดของเรื่องนั้นทำให้ฉันได้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกมาก

.
.
.
เปลี่ยนแล้วปัญหามันไม่จะถูกแก้ไขให้หมดไปในทันทีหรือคุณจะประสบความสำเร็จทันทีเหมือนถูกหวยหรอกครับ

"แต่มันจะเปิดทางให้คุณเดินไปต่อได้"

นั่นแหละครับคือสิ่งที่ NLP ต้องการจริงๆล่ะ





Why and How


?

คำถามว่า "ทำไม!" (Why) มันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา
ถามว่า "อย่างไร" (How) ต่างหากที่คุณต้องการ

"ทำไมอาหารจึงช้า ฉันรอเป็นชั่วโมง!"
คำถามแบบนี้ไม่ได้ช่วยอะไรเลย ไม่ได้ช่วยให้คุณหายโมโห และก็ไม่ได้ช่วยให้คุณได้อิ่มท้องด้วย มีแต่ยิ่งถามก็ยิ่งโมโหหิวมากขึ้นเรื่อยๆ

เปลี่ยนใหม่ Re-Pattern ของคุณเสีย

"อาหารช้าเป็นชั่วโมง ฉันหิวมาก ฉันจะได้รับการชดเชยอย่างไร?"
บางทีจากคำถามนี้คุณอาจจะทานอาหารดีๆฟรีๆซักเมื้อสองเมื้อก็ได้นะครับ

มันสร้างสรรคกและได้ประโยชน์ว่ากันเยอะเลย ..... หรือคุณว่าไม่จริง?






วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Picasso




กาลครั้งหนึ่งนามมาแล้ว ปีกัสโซ่ (Picasso) ศิลปินเอกคนหนึ่งของโลกโดนยิงคำถามมาจากชายคนหนึ่งว่า

"ทำไมคุณจึงไม่วาดภาพที่มันเหมือนจริงล่ะ?" เมื่อได้ฟังดังนั้นปีกัสโซ่จึงถามกลับไปว่า "เหมือนจริงแบบใหนล่ะ?"

ชายคนนั้นจึงหยิบรูปถ่ายภรรยาของตัวเองออกมาจากกระเป๋าเสื้อ (ซึ่งเป็นภาพขาวดำตามยุคสมัยนั้น) เขายื่นให้ปีกัสโซ่ดูอย่างภาคภูมิใจแล้วบอกว่า

“นี่คือภรรยาของผม ภาพนี้มันเหมือนจริงมากและคุณก็ควรวาดให้ได้เหมือนจริงอย่างนี้มากกว่าภาพเบี้ยวๆ ของคุณนะ”

ปีกัสโซ่หยุดมองภาพนั้นอย่างครุ่นคิดครู่หนึ่งทีเดียว จากนั้นก็พูดขึ้นว่า

"ภรรยาของคุณเป็นคนสวยนะ แต่เธอน่าสงสารมาก ดูซิผิวพรรณเธอไม่มีสีเลือดเลยเลย ตัวเธอก็เล็กมากกว้างยาวแค่ไม่กี่นิ้วเห็นจะได้แถมยังแบนแต๋ดแต๋เลย ผิวของเธอยังเย็นๆ อีกด้วยสงสัยเธอจะไม่สบายนะ คุณน่าจะแลเธอให้ดีหน่อย"

นี่อาจจะเป็นอารมณ์ขันปนประชดประชันของปีกัสโซ่ที่ใช้ตอกหน้าชายคนนั้นกลับไปเฉยๆ ก็ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้จากเรื่องนี้ก็คือ บ่อยครั้งแค่ไหนที่เราให้ปล่อยให้ความหมายที่เรากำหนดให้ต่อสิ่งต่างๆ กลายมาเป็นสิ่งเหล่านั้นเสียเอง เหมือนอย่างที่ชายคนนั้นได้ปล่อยให้ภาพถ่ายในกระดาษกลายเป็นภรรยาของเขาจริงๆ (ถึงแม้ว่าจะผ่านทางการประชดของปีกัสโซ่ก็ตามเถอะ) บ่อยครั้งแค่ไหนที่เราปล่อยให้อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการสรุปเหตุการณ์ของเราเองกลายมาเป็นรายละเอียดของเหตุการณ์นั้นจริงๆ หรือบ่อยครั้งแค่ไหนเราปล่อยให้ความรู้สึกที่เรามีต่อคนๆ หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นจากการสรุปความหมายของเราเองกลายเป็นตัวตนของคนๆ นั้นไปอย่างสมบูรณ์

มันไม่ใช่แค่บทสรุป มันไม่ใช่แค่ตัวแทน แต่มันกำลังจะเป็นสิ่งนั้นจริงๆ ในการรับรู้ของเรา แผนที่ที่เราวาดขึ้นกำลังกลายเป็นพื้นที่นั่นอย่างสมบูรณ์แล้วอย่างนั้นหรือ?

ไม่มีทาง!

“แผนที่ไม่ใช่พื้นที่” (The Map is not Territory)

นี่เป็นประโยคที่มีความสำคัญต่อผู้ศึกษาเอ็นแอลพีเป็นอย่างมาก กล่าวคือเอ็นแอลพีเปรียบวิธีการรับรู้ของระบบประสาทของเราเป็นเหมือนกับการมองไปยังแผนที่ฉบับหนึ่งที่เราวาดขึ้นมาอธิบายรายละเอียดของพื้นที่ จากนั้นก็ตอบสนองกับแผนที่นั้นอย่างเต็มที่แทนที่เราจะมองและตอบสนองต่อพื้นที่นั้นโดยตรง การทำแบบนี้ช่วยให้สมองของเราทำงานได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นและประหยัดพลังงานยิ่งขึ้น
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ศึกษาเอ็นแอลพีจะต้องระลึกอยู่เสมอก็คือ “แผนที่ก็ย่อมเป็นเพียงแผนที่ ไม่สามารถเป็นพื้นที่จริงได้โดยเด็ดขาด” หมายถึงการรับรู้ก็ย่อมเป็นได้แค่การรับรู้ มันไม่มีทางที่จะเป็นสิ่งเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเด็ดขาด หรือแปลความกันอีกทีก็คือ

“เหตุการณ์ที่เกิดและสิ่งที่คุณรับรู้มันคือคนล่ะเรื่องกันอย่าได้เผลอเอาไปรวมกันเป็นอันขาด”






นักอธิบาย

บางทีเราก็ช่างเป็นนักอธิบาย

เวลาเราพูดถึงปัญหา เรากลัวคนอื่นไม่เข้าใจ กลัวคนอื่นไม่ยอมรับ เราไม่ค่อยมั่นใจตัวเองเท่าไหร่

เราก็เลยใช้ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเวลาในการ "อธิบายปัญหา"

แทนที่จะพูดถึง "วิธีแก้ปัญหา" ....




พลังแห่งข้ออ้าง


เพื่อไปให้ถึงเส้นชัย เพื่อไปให้ถึงผลลัพธ์ที่คุณต้องการ คุณจำเป็นต้องเขี้ยวเข็นตัวเองให้หนักยิ่งขึ้น พยามมากยิ่งขึ้น ฝ่าฟันมันด้วยกำลังที่เต็มที่ยิ่งขึ้น ข้อผิดพลาดต่างๆ จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

.... เรื่องง่ายๆ แบบนี้ผมคิดว่าใครๆ ก็รู้

แต่คุณจะทำแบบนั้นได้อย่างไรในเมื่อคุณยังคงเต็มไปด้วย "ข้ออ้าง" มากมายที่คอยปกป้องตัวคุณไม่ให้ไปถึงจุดเหล่านั้น

ผมตื่นสายก็เพราะว่า.........................(ผมไม่ผิดนะ)
ผมฝึกซ้อมน้อยลงก็เพราะ .................(ผมไม่ผิดนะ)
ผมนิ่งนอนใจก็เพราะว่า .....................(ผมไม่ผิดนะ)
ผมไม่ทำอย่างนั้นเพราะ.....................(ผมไม่ผิดนะ)

ข้ออ้างต่างๆ มันคอยปกป้องคุณอยู่ตลอด แน่นอนว่าด้วยอำนาจอันยิ่งใหญ่ของสารพัดข้ออ้างแล้ว มันทำให้คุณไม่ผิด!

คุณไม่ผิด! และไม่มีวันผิดด้วย! นี่แหละพลังอำนาจของข้ออ้าง

...................

ในเมื่อคุณไม่ผิด คุณมองไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รู้สึกซักนิดว่าคุณผิดแล้ว คุณพลาดแล้ว....

"แล้วคุณจะพัฒนาตัวคุณให้บินสูงกว่านี้ ไปใกลกว่านี้ได้ยังไง?"

ถามจริงๆ มันจะดีกว่านี้ได้ยังไง(วะ)ถ้าคุณไม่ยอมรับเสียก่อน?




ข้ออ้าง






Love






วงล้อม





สิ่งที่อยู่ภายใน


แผนที่การรับรู้ภายในจิตใจย่อมถูกถ่ายทอดออกมาด้วยถ้อยคำและภาษาที่ถูกสื่อสารออกมา

ภายในจิตใจเป็นอย่างไรย่อมถูกถ่ายทอดออกมาจากสิ่งที่เขาพูด

ความดักดานของผู้คนก็เช่นกัน ท่านย่อมสามารถสังเกตได้จากสิ่งที่พวกเขาพูดออกมา

และถ้าจะแก้ไข ..... ก็เริ่มที่การแก้ไขคำพูดนั่นแหละ






วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลำดับขั้นตอนที่ควรจะเป็น


โอ้ย แย่แล้ว ลูกค้าจะมาแล้วยังเตรียมงานไม่ทันเลย!!! ..... อารมณ์ก็ชักจะเสียมากขึ้นทุกทีๆ

นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ ของ Strategy ที่ผิดขั้นตอน

ผิดยังไง?

ก็ลูกค้ายังไม่ได้มาแต่เราเอาเรื่องนี้มาก่อน จากนั้นก็เอางานที่กำลังทำอยู่ตามมาทีหลัง ผลคืออารมณ์เสียเพราะรู้สึกว่างานไม่ทันแล้ว ทั้งๆที่จริงแล้วลูกค้ายังไม่โผล่มาเลยซักคน!!!

ถ้าสลับตำแหน่งกันซักนิด เอางานที่ทำมาก่อนลูกค้าที่จะมาเอาไว้ทีหลังคิดถึงงานที่กำลังทำก่อนคิดถึงลูกค้าที่กำลังจะมา(คือยังมาไม่ถึงหรอก) อะไรๆมันจะง่ายขึ้นอีกเยอะ

ลองสำรวจดูครับว่าวันๆเรามี Strategy อะไรที่มันผิดขั้นผิดตอนหรือ แล้วมันก่อปัญหาอะไรให้เราบ้าง และที่สำคัญคือ

ลำดับ Strategy ที่ถูกต้องจริงๆ ของมันควรเป็นอย่างไร?




Strategy





คำว่า Strategy ใน NLP มันแปลกันว่า "กลยุทธ" หรือไม่ก็ "กลวิธี" ความจริงแล้วอธิบายให้ง่ายกว่านั้นก็คือ "ลำดับขั้นตอน"

คือ NLP จะบอกว่าผลลัพธ์ใดก็ตามที่มันเกิดขึ้นมันไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นเองได้ ทุกสิ่งมันมีลำดับความเป็นมาของมันตั้งแต่เริ่มจนไปถึงได้ผลลัพธ์ โดยจำนวนขั้นตอนก็อาจจะสั้นบ้างยาวบ้างก็แล้วแต่กรณี

ลองนึกถึงไข่เจียวที่วางในจานหอมกรุ่นอยู่ตรงหน้า คุณคิดว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร? แน่นอนมันไม่ได้เกิดขึ้นได้เอง แต่มันเกิดขึ้นด้วยลำดับขั้นตอนของมัน เริ่มตั้งแต่เดินเข้าไปในครัว หยิบไข่ไก่ออกมาตอกลงในชาม เดินไปหยิบกะทะวางลงที่เตา เปิดแกส และอะไรเรื่อยไปจนถึงได้เป็นไข่เจียวออกมานั่นแหละ

ความจริงกระบวนการ Strategy ไข่เจียวนี้อาจจะย้อนกลับได้จนถึงว่าทำไมคุณจึงตัดสินใจเดินไปทอดไข่เจียว เกิดอะไรขึ้นในหัวของคุณ แน่นอนมันก็ต้องมีลำดับขั้นตอนของมันเช่นกัน

หลักง่ายๆ ของ Strategy ก็คือ ทุกอย่างในโลกนี้เกิดขึ้นมาอย่างมีลำดับขั้นตอนเสมอ

และเพื่อให้ผลลัพธ์มันคงเดิม กระบวนการหรือลำดับขั้นตอนมันจำเป็นที่จะต้องรักษาเอาไว้เหมือนเดิมทุกประการ ถ้ากระบวนการหรือขั้นตอนบางอย่างมันถูกเปลี่ยน ผลสุดท้ายมันก็ย่อมเปลี่ยนตามไปด้วย

อีกประการหนึ่งก็คือ สำหรับผลลัพธ์ใดก็ตามที่มันเกิดขึ้น ถ้ามันดีก็เพราะว่าลำดับขั้นตอนที่ทำให้เกิดผลนั้นมันดี แต่ถ้ามันแย่ก็หมายความว่าลำดับที่ทำให้เกิดผลมันผิดมาตั้งแต่ต้นแล้ว ถ้าอยากเปลี่ยนผลให้ดีก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขลำดับขั้นตอนใหม่ อาจจะแค่สลับขั้นตอนหรือไม่ก็เปลี่ยนวิธีการบางขั้นตอน แล้วทุกอย่างก็จะเปลี่ยนไปหมด

ความคิดของเรา อารมณ์ของเรา พฤติกรรมของเรา หรือแม้แต่ความสำเร็จในชีวิตของเรา ทั้งหมดนี้ก็เป็นไปในรูปของ Strategy ทั้งสิ้น

ถ้าหาเจอ เปลี่ยนมันซะ ทุกอย่างก็เปลี่ยนครับ





Believe



คำว่า Believe หรือ "ความเชื่อ" ที่ผมได้ตะบี้ตะบันบ่นถึงอยู่ทุกวี่วันว่ามัน "คำคัญ" ไม่ใช่ความเชื่อประเภทศัทธาจริต เชื่อบุญกรรม เชื่อเทพเทวา เชื่อดวงชะตา หรือเชื่อถือศัทธาในอีกสารพัดสิ่งที่ที่ผู้คนในสังคมจะเชื่อถือยึดเหนี่ยวกันได้

เพราะ Believe หรือ "ความเชื่อ" ในที่นี้หมายถึง.....

"ความจริงที่คุณยอมรับและยึดมั่นอย่างไร้เงื่อนไขและข้อสงสัยใดทั้งสิ้น"

ดังนั้นความเชื่อจึงเป็นกรอบหรือเป็นเขตแดนกักขังมนุษย์ที่เบ็ดเสร็จสมบูรณ์ที่สุด

ไม่มีใครที่ไร้ความเชื่อ .... เพียงแต่ว่าความเชื่อที่คุณมีนั้นมีขอบเขตกว้างขวางแค่ใหน? คุณได้รับอิสระภาพจากความเชื่อของคุณมากน้อยแค่ไหน?

หรือพูดง่ายๆก็คือคุณได้ประโยชน์จากความเชื่อของคุณมากน้อยแค่ไหน?






Belief and Value




ความเชื่อ(Belief) = แผนที่
ค่านิยมหรือการให้คุณค่า(Value) = เข็มทิศ

เมื่อคุณจะกางใบล่องทะเล 2 สิ่งนี้คือสิ่งที่คุณต้องพึงพามันมากที่สุด

เมื่อชีวิตของคุณมุ่งหน้าไปในอนาคต 2 สิ่งนี้คือสิ่งที่มีอิธิพลต่อคุณมากที่สุด

มันต้องพร้อมครับ ......มันต้องพร้อม!!!!





ข้อสรุปแด่ทุกสิ่ง?


อย่าใช้คนเพียงเดียวเป็นบทสรุปของของผู้คนอีกนับล้านบนโลกนี้ ..... และขออย่าได้ใช้อารมณ์จากเพียงเหตุการเดียวมาเป็นทั้งหมดของชีวิตที่เหลืออยู่

นี่มันไม่เข้าท่าเอาเสียเลย

...... หรือคุณว่ามันเข้าท่าดี?




ถ้อยคำแด่ตนเอง

แม้แต่คำพูดที่เป็นสิ่งไร้ต้นทุน (คือท่านไม่ต้องจ่ายไม่ต้องแลกมาด้วยอะไรเลย) หากท่านไม่สามารถหยิบยื่นรูปแบบที่สร้างสรรค์ให้กับตัวเองได้เสียแล้ว .....

แล้วสิ่งอื่นที่มีต้นทุน ท่านจะยิบยื่นสิ่งที่สร้างสรรค์ให้กับตนเองได้อย่างไร?



ผู้ชนะ


"ผู้ชนะ"





so hard




เราบอกว่าสิ่งนั้น "มันยาก" ก็เพื่อเป็นเกราะกำบังไม่ให้เราต้องทำสิ่งนั้น .... ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

ยิ่งพูดคำว่า "มันยาก" ซ้ำเรื่อยๆ เกราะกำบังมันก็ยิ่งถูกเพิ่มความหนาขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมันไม่ได้ช่วยอะไรเลยนอกจากจะเพิ่มความสามารถในการหาข้อสมอ้างในการหลบหนีการทำสิ่งนั้นไปเรื่อยๆ

ถามจริงๆ คุณคิดว่ามันดีแล้วเหรอกับการหลบหนีหลีกเลี่ยงๆไปเรื่อยๆ? เพื่ออะไร? เพื่อที่คุณจะได้หลบหนีได้อย่างชำนานขึ้นเรื่อยๆ อย่างนั้นหรือ?

ในเมื่อคุณกำลังหนีเป้าหมายเอง คุณกำลังสร้างเกราะหนามาบังคุณให้พ้นจากเป้าหมาย ..... พอคุณไปไม่ถึงเป้าหมาย แล้วคุณจะโทษใคร?

คุณจะโทษใคร?

อย่าช้าเปลี่ยนมันเสียเดี๋ยวนี้เลย จาก "มันยาก" ให้เป็นคำที่สร้างสรรค์กว่า ความจริงมันไม่ยากหรอกเพราะมันแค่ "ยังไม่เคยทำ" "มันซับซ้อนซักหน่อย" "มันเป็นงานละเอียด" "มันท้าทาย" หรือไม่ก็ "มันเป็นสิ่งที่ต้องทุ่มเท"

เลือกเอาซักอย่างเถอะครับ เอามาทดแทนของเก่าที่มันไม่สร้างสรรค์เสียเลย ..... คุณยังคงสื่อสารรู้เรื่องเหมือนเดิมแต่ความหมายที่มันสื่อออกไปสู่โลกภายนอก และแรงสั่นสะเทือนที่มันส่งไปยังโลกภายในจิตใต้สำนึกของคุณ

มันยอดเยี่ยมกว่ากันเยอะ!!!!

อย่าลืมว่าแค่เปลี่ยนคำที่คุณพูด .... ทุกอย่างก็เปลี่ยน!!!!





ตรุษจีน2556


ตรุษจีนปีงู 2556
" ขอทุกท่านร่ำรวยเงินทอง ประสบความสำเร็จ และสมหวังทุกประการ"

และที่สำคัญกว่านั้นคือ
"ขอให้เชื่อมั่นว่าตนจะได้รับผลแห่งคำอวยพรต่างๆ ที่ท่านได้รับในเทศการตรุษจีนนี้"






Believe


"ชีวิตคน จะจมจะลอยหรือจะไปได้ใกลแค่ไหน
ขึ้นอยู่กับ "ความเชื่อ" ที่แต่ละคนมีอยู่ภายในตัวว่าเป็นอย่างไร"